งานเขียนที่ผ่านระยะเวลายาวนาน คือสิ่งที่บอกตัวตนได้ชัดเจนที่สุด งานเขียนในบล็อกนี้ เป็นสิ่งที่ต้องการถ่ายทอดออกมาด้วยความอยากและความสนุกเป็นที่ตั้ง เพื่อเป็นที่ชุมนุมคนที่มีความคิดคล้ายๆกัน เผ่าพันธ์ุใกล้เคียงกัน โดยมีกีฬากอล์ฟเป็นตัวเชื่อมโยง ด้วยบทความที่จะถูกอัพเดทในช่วงเช้าของทุกวัน จากนี้จนครบ 1,000 บทความ ... บทความที่จะทำให้เราตีกอล์ฟได้ดีขึ้นและมีความสุขกับมันไปตลอดชีวิต
Wednesday, January 25, 2017
066 - ตีไกล ตอน 2 - ตีให้เข้า Sweet Spot
หน้าหัวไม้ไดร์ฟเวอร์ทำงานเหมือน Trampoline ที่จะให้ประสิทธิภาพในการส่งพลังได้ดีที่สุดที่บริเวณ Sweet Spot, บริเวณ CG (Center of Gravity) ของหัวไม้ หรือบริเวณกลางหน้าไม้ เมื่อเรารู้แล้วว่าตำแหน่งปะทะบนหน้าไม้ของเราอยู่บริเวณที่ยังไม่เข้า Sweet Spot ก็มีวิธีการแก้ไขอย่างง่ายๆ ได้ดังนี้
1.เป็นกลุ่มอยู่บนบริเวณใกล้คอไม้ (hosel)
ให้จรดลูกกอล์ฟออกไปห่างคอไม้ให้มากขึ้น แล้วตีให้เหมือนเดิม ตำแหน่งปะทะจะห่างคอไม้ออกไป แล้วหาตำแหน่งจรดที่เหมาะสมที่ตีเข้า Sweet Spot ให้เจอ
2.เป็นกลุ่มอยู่บนบริเวณไกลคอไม้ (hosel)
ให้จรดลูกกอล์ฟเข้าใกล้คอไม้ให้มากขึ้น แล้วตีให้เหมือนเดิม ตำแหน่งปะทะจะเข้าใกล้คอไม้มากขึ้น แล้วหาตำแหน่งจรดที่เหมาะสมที่ตีเข้า Sweet Spot ให้เจอ
3.เป็นกลุ่มอยู่บนบริเวณด้านล่างของหน้าไม้ (lower side)
ให้ปรับความสูงของทีร่วมกับการปรับตำแหน่งของลูกเทียบกับร่างกายในขณะจรดให้เหมาะสม แนวโน้มคือปรับความสูงทีให้สูงขึ้น และขยับตำแหน่งลูกกอล์ฟมาทางเท้าขวาให้มากขึ้น แล้วตีให้เหมือนเดิม ตำแหน่งปะทะจะสูงขึ้น แล้วหาตำแหน่งจรดที่เหมาะสมที่ตีเข้า Sweet Spot ให้เจอ
4.เป็นกลุ่มอยู่บนบริเวณด้านบนของหน้าไม้ (higher side)
ให้ปรับความสูงของทีร่วมกับการปรับตำแหน่งของลูกเทียบกับร่างกายในขณะจรดให้เหมาะสม แนวโน้มคือปรับความสูงทีให้ต่ำลง และขยับตำแหน่งลูกกอล์ฟให้ห่างเท้าขวาให้มากขึ้น แล้วตีให้เหมือนเดิม ตำแหน่งปะทะจะต่ำลง แล้วหาตำแหน่งจรดที่เหมาะสมที่ตีเข้า Sweet Spot ให้เจอ
5.กระจัดกระจายทั่วหน้าไม้
ให้ลองจับโช็คให้สั้นลงดูว่ากลุ่มของตำแหน่งปะทะเล็กลงไหม ถ้าเล็กลงก็พิจารณาปรับไม้กอล์ฟให้สั้นลง เพื่อเพิ่มความแม่นยำ แต่ถ้ายังไม่ดีขึ้น อาจจะฝึกซ้อมการตีเพื่อเพิ่มทักษะการตีลูกให้แม่นยำมากขึ้น
ลองเอาไปปรับใช้ดูครับ จากแค่ตีให้เข้า Sweet Spot ระยะก็เพิ่มให้เห็นอย่างรู้สึกได้แล้ว

Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment
Note: Only a member of this blog may post a comment.